Inspirational vows by
Ven. Arayawangso Bhikku



  • To adorn the Earth in Dhamma with all the strengths in my two hands;

  • To return, with humbleness, the glory of Buddhism to Jambu-dvipa;

  • To raise the banner of the Wheel of Dhamma ere the end of my time;

  • To uphold the heritage of the Lord Buddha’s Teachings in his homeland.

  • During childhood, I was strongly trained in practice of Buddhism by devout forest monks

  • Desired to visit various Buddha’s Sacred places since my youth

  • Vision from Sareeputra Thera commanding me to revive Buddhism in Jampu-Dvipa

  • Pledged to stay in monkshood for life

  • Sadness to see non-Buddhists disrespectfully mistreating and seizing hold of Buddhist sacred sites. All these lead to the intention to work with local Buddhists to claim those sacred sites back

  • Work with people in Maharashtra and other areas to revive and strengthen Buddhism


Pilgrimages in Jambu-Dvipa by
the Ven. Arayawangso Bhikku



  • Religious ceremonies at various sacred places of Buddhism

  • Activities during Makapuja and Vesakh days

  • Rains Retreat


    • B.E. 2549 (A.D. 2006) at Doongasiri cavern in Bihar State, India

Doongasiri cavern in Bihar State, India


ศาสนกิจในประเทศ

มิติใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในชมพูทวีป


เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า พระพุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองอย่างยิ่งในชมพูทวีป (ปัจจุบันคือ ประเทศอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ และปากีสถาน) เช่นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช คือประมาณ 2,200 ปีมาแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีการสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นทั่วราชอาณาจักร กว่า 84,000 แห่ง แต่มาเมื่อประมาณ 800 ปี มาแล้ว พระพุทธศาสนาได้ถูกทำลายกวาดล้างจนหมดสิ้นสูญไปจากดินแดนเหล่านี้ และแทบจะไม่ได้มีโอกาสฟื้นตัวขึ้นมาอีกเลย ปัจจุบันในประเทศอินเดีย มีพุทธศาสนิกชนอยู่เพียงประมาณ 4% ของจำนวนพลเมืองทั้งหมด คือประมาณ 30-40 ล้านคน กระจายอยู่ในรัฐต่างๆ เช่นทางภาคตะวันตกของรัฐมหาราษฎร์ แคว้นมัธยประเทศ รัฐปัญจาบ ทางภาคใต้ที่รัฐทมิฬนาดู และรัฐคาร์นาตะกา เป็นต้น


รับกิจนิมนต์ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ

ในปัจจุบันได้มีความพยายามจากคณะสงฆ์ พุทธศาสนิกชนจากประเทศต่างๆเช่น ศรีลังกา ไทย พม่า ทิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ ลงทุนสร้างวัดพุทธศาสนาหลายสิบแห่งในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่เรียกว่า “พุทธภูมิ” ซึ่งคือเขตแดนที่พระพุทธองค์ ได้ทรงประสูติ ตรัสรู้ เผยแผ่ธรรม และปรินิพพาน อันได้แก่ดินแดนที่อยู่ในส่วนกลาง ๆ ค่อนมาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือที่พุทธคยา พาราณสี ลุมพินี (ประเทศเนปาล) และกุสินารา ตัวอย่างเช่นที่ พุทธคยามีวัดไทยไม่น้อยกว่า 4 แห่ง เป็นต้น วัดในพระพุทธศาสนาเหล่านี้เป็นวัดที่ชาวไทยไปชุมนุมกัน เพื่อทำศาสนกิจ ในวันสำคัญๆทางศาสนา จะมีชาวอินเดีย เข้ามาร่วมบ้างเป็นส่วนน้อย วัดของชาติต่างๆในเขตพุทธภูมิก็เป็นเช่นเดียวกัน กล่าวโดยสรุป วัดของชาติต่างๆเหล่านี้เป็นสถานที่แสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมที่อิงกับพระพุทธศาสนา ตามลักษณะประจำของชาตินั้นๆ


แต่ในเขตนอกออกไปจากพุทธภูมิ เช่นที่รัฐมหาราษฎร์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย มีเมืองสำคัญเช่น มุมไบ (Mumbai) นาสิก (Nasik) นาคปุระ (Nagpur) ฯลฯ ปรากฏว่า มีชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ถึงประมาณ 10 ล้านคน พวกนี้เรียกตัวเองว่าชาวพุทธใหม่ (New Buddhists) เพราะเขาเพิ่งจะเป็นชาวพุทธอยู่เพียงประมาณ 50 ปีเศษเท่านั้น เดิมคนเหล่านี้เป็นชาวฮินดูที่มีวรรณะต่ำเขาเหล่านั้นมีผู้นำที่เข้มแข็งชื่อ ดร. บาบาสาเหบ พิมเรา รามจิ อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) ซึ่งเผอิญมีโอกาสได้รับการศึกษาชั้นสูง ได้ไปศึกษาทั้งจากสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ในช่วงเวลาที่อินเดียได้รับอิสรภาพใหม่ๆคือหลังจากปี พ.ศ. 2490 ดร.อัมเบดการ์ ได้มีโอกาสเข้าเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของศรียาวหราล เนห์รู ผู้นำคนสำคัญของอินเดียในยุคนั้นได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมาย ให้สิทธิแก่ชนที่มีวรรณะต่ำมากขึ้นและอนุญาตให้มีการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาอื่นใดก็ได้ ในปี พ.ศ. 2499 ดร.อัมเบดการ์ ก็ได้นำชาวอินเดียกว่า 2 แสนคนประกาศตนเป็นพุทธมามกะ นี่คือกลุ่มเริ่มต้นของชาวพุทธใหม่ ปัจจุบันชาวพุทธใหม่เหล่านี้มีฐานะทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่โดยที่เขาเหล่านั้น เข้ามาเป็นชาวพุทธโดยความจำเป็นทางสังคม ดังนั้นจึงยังไม่มีพื้นฐานความเข้าใจในหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนามากนัก และกลุ่มสงฆ์ของเขาก็มีจำนวนไม่มาก และยังไม่มีความเข้มแข็ง เป็นที่น่าเสียดายว่า ดร.อัมเบดการ์ ไม่ได้มีโอกาสสานต่องานด้านพระพุทธศาสนาเลย เพราะว่าเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ.2499 หลังจากนำกลุ่มประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพียง 2 เดือน


ศรัทธาชาวฮินดูตักบาตรเทโวโรหณะ
ณ ดงคสิริ อุรุเวลาเสนานิคม มคธชนบท (อินเดีย) 2549

ในเทศกาลวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2547 พระอาจารย์ อารยะวังโส ผู้เป็นพระอาจารย์วิปัสสนา และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย ได้ไปปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่เพียงรูปเดียวที่บริเวณพระมหาวิหารโพธิคยา ที่อินเดีย ท่ามกลางอากาศที่ร้อนถึง 50 องศาเซลเซียส ในเวลานั้น เผอิญมีชาวพุทธใหม่คณะใหญ่จากรัฐมหาราษฎร์เดินทางมาสักการะ ที่สังเวชนียสถานแห่งนี้ พวกเขาได้เห็นปฏิปทาอันงดงามของพระอาจารย์อารยะวังโสก็เกิดความเลื่อม ใสเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับมีคหปตานีผู้หนึ่ง ปวารณาถวายที่ดินของตนจำนวนประมาณ 15 ไร่ ที่อยู่ในรัฐมหาราษฎร์ (ห่างออกไปจากพุทธคยาประมาณกว่าพันกิโลเมตร) เพื่อให้พระอาจารย์อารยะวังโสสร้างวัดในพระพุทธศาสนาและยังมีชาวพุทธอินเดียอีกเป็นจำนวนมากถวายเงินเพื่อการนั้นให้แก่ท่านด้วย (ขณะนั้นท่านไม่เคยรู้เรื่องของรัฐมหาราษฎร์เลย โดยเฉพาะว่ามีชาวพุทธอินเดียอยู่ที่นี่) นับเป็นปรากฏการณ์ที่พิเศษอย่างยิ่ง ที่ชาวพุทธอินเดียเหล่านั้นมีความเลื่อมใสเช่นนั้นต่อพระภิกษุที่เขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน จัดเป็นนิมิตที่ปรากฏขึ้นในเขตโพธิมณฑลสถาน ที่ตรัสรู้ของพระผู้มี พระภาคเจ้าอันศักดิสิทธิ์ บ่งถึงโอกาสที่จะมีการร่วมมือกันระหว่างชาวพุทธใหม่ในอินเดียกับคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวไทยในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรขึ้นใหม่ในดินแดนชมพูทวีปตามที่ชาวพุทธใหม่เหล่านั้นได้นิมนต์พระอาจารย์อารยะวังโสไปเป็นผู้นำในการดำเนินการ



ศรัทธาชาวฮินดูตักบาตรเทโวโรหณะ
ณ นิโครธาราม กบิลพัสดุ์ (เนปาล) 2550

ประมาณปลายปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา พระอาจารย์อารยะวังโสได้เดินทางไปยังรัฐมหาราษฎร์ครั้งแรกและหลายครั้งต่อมา เพื่อสอนธรรมะและให้คำแนะนำกับชาวพุทธใหม่เหล่านั้นในอันที่จะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรเรียกว่า Buddhist United Dhamma Organizaton in Jambu-dvipa ตัวย่อว่า BUDOJ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตนั้น

ในปี พ.ศ. 2549 พระอาจารย์อารยะวังโสได้ไปจำพรรษาที่ถ้ำบนภูเขาดงคสิริ อุรุเวลาเสนานิคม มคธชนบท (ในอดีต) อันเป็นสถานที่ๆ เจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง 6 ปี ก่อนที่จะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ถ้ำนี้อยู่นอกเมืองพุทธคยาออกไป ประมาณ 10 กม. ห้อมล้อมไปด้วยหมู่บ้านชาวฮินดูที่ยากจนจำนวนมาก เขตนี้มีชื่อว่าโจรผู้ร้ายชุกชุมและมีอันตรายมากแต่พระอาจารย์ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นตลอด เวลา 3 เดือนเศษ นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้ไปปฏิบัติธรรมที่นั่น



น้ำตาที่หลั่งไหล มือที่โบกอำลา
เสียงเรียกหากูรูยี เมื่อวันลาจากกบิลพัสดุ์ (เนปาล)


ในปี พ.ศ. 2550 พระอาจารย์อารยะวังโสได้ไปจำพรรษาที่ ศาสนสถานวัดนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ (Lumbini Zone, Nepal) อันเป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระพุทธบิดา (โดยความยินดีและเป็นความประสงค์ของ Lumbini Development Trust และรัฐบาลเนปาล) ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นชนบทที่ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อการร้ายเมาอิสต์ (Maoist) แต่พระอาจารย์อารยะวังโสก็ไปปฏิบัติธรรมอยู่ได้ตลอดพรรษา นับเป็นพระ สงฆ์รูปแรกในระยะเวลากว่าพันปีที่ได้ไปจำพรรษาที่นั่น (ตามคำกล่าวของ Dr.Basanta Bidari หัวหน้านักโบราณคดีลุมพินีฯ)


ในทุกๆแห่งที่พระอาจารย์อารยะวังโสได้จาริกไป ไม่ว่าจะเป็นเขตของชาวพุทธใหม่ในรัฐมหาราษฎร์ หรือในเขตของชาวฮินดู ทั้งที่ พุทธคยาและที่ประเทศเนปาล ท่านได้รับการยอมรับนับถืออย่างสูงยิ่งจากผู้คนทุกระดับไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านธรรมดา ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ นักการเมือง รัฐมนตรี ตลอดจนสื่อมวลชน คนเหล่านี้มาจากทุกวรรณะ ทั้งวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ ตลอดจนถึงวรรณะต่ำๆ เขาเรียกท่านว่า กูรูยี (Guru Ji) อันมีความหมายว่าพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ มีบารมีสูง หรือเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของหมู่ชน คนเหล่านั้นเคารพ ศรัทธา และ เชื่อว่าท่านมีพลังจิตสูงสามารถขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยให้เขาได้ บางคนถึงกับกล่าวว่าท่านเป็นประดุจเทพเจ้าของพวกเขาทีเดียว






การประชุมจัดตั้ง BUDOJ ที่เมืองนาสิก รัฐมหาราษฎร์





เพื่อให้การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเป็นไปได้ด้วยดี สามารถที่จะให้การสนับสนุนแก่ชาวพุทธใหม่ ที่เป็นคนท้องถิ่นได้อย่างจริงจัง พระอาจารย์อารยะวังโสได้มีดำริให้จัดตั้งมูลนิธิฟื้นฟูพุทธศาสนาโลก(ฟพล.) ชื่อภาษาอังกฤษว่า World Buddhism Revival Foundation (WBRF) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ เป้าหมายหลักคือให้การสนับสนุนชาวพุทธใหม่ในชมพูทวีปให้สามารถปฏิบัติศาสนากิจได้อย่างถูกต้องมั่นคง และสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาในชมพูทวีปให้รุ่งเรืองดุจในสมัยพุทธกาล อีกครั้งหนึ่ง




มิติใหม่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในชมพูทวีป








“สองมือจะตบแต่งโลกด้วยธรรม
จะน้อมนำพุทธศาสน์สู่ที่หมาย (ชมพูทวีป)
จะปักธงธรรมจักรก่อนละกาย
จะมุ่งหมายสืบทอดศาสน์พุทธองค์”










ผู้สนใจในรายละเอียดและมีความประสงค์
ในการร่วมก่อตั้งกองทุนติดต่อได้ที่:

หัวหน้าคณะผู้ประสานงานการก่อตั้งองค์กรฯ

พระผาสุข ฐานวุฑโฒ (ดร. ผาสุข กุลละวณิชย์)
โทร. 089-146-7640

พระนิวัฒน์ธำรง อาภัสสรโพธิ (นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล)
โทร. 081-889-9299

วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย
ถนน ลำพูน-ป่าซาง บ้านสันต้นธง
ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
โทร 053-561-427
e-mail: buddhapoj_lamphun@yahoo.co.th

คณะสงฆ์วัดป่าพุทธพจน์ หริภุญไชย


สมณศักดิ์

ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญชัย ลำพูน ประเทศไทย

ตารางศาสนกิจ



23 - เม.ย.- 51

โครงการพัฒนาสุขภาพจิตด้วยกรรมฐานตามวิถีพุทธ ขอเชิญผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมสัมมนาศาสตร์การแพทย์ทางเลือกของศูนย์สุขภาพองค์รวมด้านการแพทย์ทางเลือก

เรื่อง "โครงการพัฒนาสุขภาพจิตด้วยกรรมฐานตามวิถีพุทธ" ครั้งที่ 14 บรรยายธรรมโดย พระอารยะ วังโส (วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จ.ลำพูน)

เวลา 06.30-14.30 น. ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
โดยตักบาตรอาหารสด-อาหารแห้ง เวลา 06.30 น. ณ บริเวณหน้าห้องประชุมฯ (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

ประวัติวัดป่าพุทธพจน์หิริภุญไชย


บารมี พลังธรรม ศรัทธาธรรม...สู่ความเป็นวัดป่าพุทธพจน์หิริภุญไชย แดนบุญแดนธรรมแห่งลุ่มน้ำกวง

วัดป่าพุทธพจน์หิริภุญไชย อันเป็นเขตบุญในพระพุทธศาสนาแห่งนี้ (บ้านสันต้นธง ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน) ที่ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายได้ร่วมกันถวายปัจจัยจัดสร้างบำรุงเสนาสนะ และร่วมจิตร่าวมใจการจัดระบบในองค์กร

ของสำนักแห่งนี้จนได้รับการพิจารณายกฐานะขึ้นเป็นวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชยภายในเวลา ๓ ปี ที่นับว่ารวดเร็วมาก ในเขตเชียงใหม่ ลำพู แม่ฮ่องสอน ผู้บริจาคที่ดินคือ คุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน มีสำนักสงฆ์ ที่พักสงฆ์ตำนวน ๘๐ - ๙๐ แห่งโดยประมาณ ซึ่งบางแห่งมีอายุประมาณ ไม่ใช่น้อย และกำลังรอยกฐานะขึ้นเป็นวัด แต่ด้วยบารมีธรรมของพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) จึงได้ยกขึ้นเป็นวัดป่าพุทะพจน์ฯ อย่างรวดเร็ว มีทั้งศาสนธรรม ศาสนพิธี ศาสนสถาน ศาสนบุคคล ครบถ้วน

การสร้างวัดเริ่มอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับบัญชาพระอุปัชฌาย์ พระพุทธพจนวราภรณ์ ที่ปรึกาาเจ้าคณะ ๔ ๕ ๖ ๗ ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระมหาเถระใหญ่แห่งภาคเหนือ ผู้เป็นที่เคารพสักการะของสาธุชน และพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่มาของการยกฐานะเป็นวัดโดยสมบูรณ์